top of page
Search
Writer's pictureJenn Weidman

Lobsters & the Olympics


(สำรับภาษาไทยกรุณาอ่านด้านล่าง)

“Lobsters come to mind…” I found myself saying in a recent chat with a friend. In answer to my friend’s quizzical expression, I referred to this bit of an interview from JInsider with Rabbi Dr. Abraham Twerski in which he talks about responding to stress.

I’ve been gleefully watching the Olympics since it started, cheering for the human stories of athletes I’ve never heard of in sports I don’t usually follow. And it is interesting to consider the relationship between discomfort, stress, and growth. As the athletes take on themselves and their competitors, some finish disappointed while others find themselves doing things they never dreamed possible. Still others perform exactly the way they are expected to. And all of them are under stress. Some struggle through bad days, some perform consistently through it all, and others use the opportunity of the stress to grow into a new shell they had hardly aspired to, be it through personal best times or dramatic, almost impossible comebacks. Because you just don’t give up. Ever. So what makes the difference? This is the question that athletes, coaches, trainers, and anyone driven in pursuit of goals has contemplated since time immemorial. And many much wiser than me have written about it. Still, the question sitting with me at the moment is: What can I learn along the way from the many Olympic athletes pouring their heart and soul into one shot at being the best in the world. I watch them seemingly effortlessly move through their sport and realize it is only the diligence of hard practice that has allowed them that grace and composure. And therein lies one key: never give up on the practice of whatever it is you are pursuing. Oh, and another: some things take an all in effort, heart and soul. The other question that lobsters bring to my mind is where do we find the protective rocks under which to shed our shells and create new ones? From where or who does that protection come? And then, how can we help each other by creating protective spaces for growth? In many ways, this is one of the things we do in our resilience retreats. Whether our participants are looking to renovate a small bit of their shell or shed it entirely, we provide the protective space they need. We also provide a cheering section, because even those of us who aren’t world-class athletes need a consistent cheering section. And while we need it when we win, we need it even more when we don’t. I love watching the Olympic crowd stay and cheer the last person to cross the finish line with the same enthusiasm as if they were the first. For certain they have expended no less effort, and the crowd honors that. So, while you enjoy the Olympic season, join me in asking these questions: How can I best take advantage of that which is making me feel discomfort and stress right now? Where do I find my protective rocks? And my cheering section? How can I keep on with my practice? And where are my heart and soul at?

ล็อบสเตอร์กับโอลิมปิก

“ฉันนึกถึงล็อบสเตอร์...” ฉันพูดประโยคนี้ออกไปตอนที่คุยกับเพื่อนเมื่อไม่นานมานี้ โดยอ้างบางส่วนของบทสัมภาษณ์จาก JInsider กับ Rabbi Dr. Abraham Twerski ที่พูดถึงการรับมือความเครียดเพื่อให้เพื่อนเห็นภาพมากขึ้น

ฉันสุขใจกับการเฝ้าชมกีฬาโอลิมปิกมาตั้งแต่ต้น ปลาบปลื้มใจไปกับเรื่องราวของนักกีฬาที่ไม่เคยได้ยินชื่อหรือติดตามมาก่อน ฉันพบว่า เรื่องราวเหล่านี้น่าสนใจไม่น้อยเมื่อคิดถึงความเชื่อมโยงระหว่างความเจ็บปวด ความเครียดและการเติบโต ขณะนักกีฬาร่วมการแข่งขัน นักกีฬาบางคนพบกับความผิดหวัง ขณะที่บางคนกลับพบว่า ตัวเองทำได้มากกว่าที่คาดหวังเอาไว้ และแน่นอนว่า นักกีฬาบางคนทำได้ตามต้องการ แน่นอนว่า นักกีฬาทุกคนอยู่ภายใต้ความกดดัน บางคนติดหล่มอยู่กับความพ่ายแพ่ที่ผ่านมา บางคนเล่นได้ดีเหมือนที่เป็นมา และบางคนใช้โอกาสแห่งความกดดันนี้ให้ตัวเองได้ไปถึงจุดหมายอย่างที่ไม่คิดว่าจะทำได้มาก่อน นั่นก็เพราะว่า พวกเขาไม่ให้ตัวเองยอมแพ้ ไม่ยอมแน่นอน

แล้วอะไรที่สร้างความแตกต่างเล่า? นี่คือคำถามซึ่งนักกีฬา โค้ช ผู้ฝึกสอนและทุกๆ คนที่กำลังไล่ล่าเป้าหมายเฝ้าถามมาแต่ไหนแต่ไร และคนที่ฉลาดกว่าฉันอีกหลายๆ คนเขียนเรื่องพวกนี้เอาไว้

แต่กระนั้น คำถามที่ยังอยู่กับฉันก็คือว่า ฉันเรียนรู้อะไรบ้างระหว่างทางที่บรรดานักกีฬาโอลิมปิกอุทิศหัวจิตหัวใจและจิตวิญญาณของตัวเองเพื่อให้เป็นที่หนึ่งของโลก ฉันมองเห็นพวกเขาเคลื่อนไหวในเกมกีฬาอย่างง่ายดาย แล้วก็ตระหนักว่า เพราะการฝึกฝนอย่างหนักเท่านั้นที่ทำให้พวกเขาดูสงบและแน่วแน่ และนั่นเอง คำเฉลยอยู่ที่ว่า ต้องไม่ยอมแพ้ที่จะฝึกและฝึกพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย คำตอบอีกประการหนึ่งคือ บางสิ่งบางอย่างต้องใช้ทั้งความเพียร หัวใจและจิตวิญญาณ

อีกคำถามหนึ่งที่ล็อบสเตอร์พามาให้ฉันก็คือ เราจะเจอก้อนหินที่เป็นเกราะคุ้มกันตอนเราลอกคราบและสร้างเปลือกขึ้นมาใหม่ได้ที่ไหน? ก้อนหินก้อนนั้นมาจากไหนหรือจากใคร? แล้วจากนั้น เราจะช่วยเหลือกันและกันในการสร้างพื้นปลอดภัยเพื่อการเติบโตได้อย่างไร?

ท่ามกลางทางเลือกหลากหลาย เรื่องราวข้างต้นเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของกิจกรรม resilience retreats ของเรา ไม่ว่าคุณกำลังหาทางกอบกู้หรือกะเทาะเปลือกเหมือนอย่างที่ลอปสเตอร์ทำออกไปให้หมด โครงการของเราให้พื้นที่ปลอดภัยตามที่คุณมองหา

กิจกรรม resilience retreats ของเรามีช่วงเวลากำลังใจ เพราะทุกๆ คนต่างต้องการกำลังใจ เราต้องการกำลังใจเมื่อเราชนะและต้องการยิ่งกว่าเมื่อเราพ่ายแพ้ ฉันชอบดูกลุ่มกองเชียร์ที่ยืนหยัดเชียร์นักกีฬาคนสุดท้ายเข้าเส้นชัยด้วยความรู้สึกเดียวกันกับที่เชียร์นักกีฬาคนแรก ด้วยความซาบซึ้งและเคารพความเพียรพยายามของพวกเขา

ฉะนั้น ขณะที่คุณกำลังเพลิดเพลินกับเทศกาลโอลิมปิก มาร่วมตอบคำถามนี้กันเถอะ เราจะสร้างโอกาสจากสิ่งที่สร้างความกดดันให้เราได้อย่างไร? เราจะหาพื้นที่ปลอดภัยได้จากที่ไหน? และช่วงเวลาการให้กำลังใจล่ะ? เราจะฝึกฝนอย่างต่อเนื่องอย่างไร? แล้วหัวใจกับจิตวิญญาณของเราอยู่ที่ไหน?

Recent Posts

See All
bottom of page